(ฝากโปรแกรมไว้ที่ Google drive)
แป้นเครื่องคิดเลข (numeric keys) เป็นส่วนด้านขวาของแป้นที่ท่านจะปฏิเสธการใช้งานของมันไม่ได้เลย
หากจะทำงานในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบัญชี
ท่านอาจใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนแป้นพิมพ์ บริเวณนี้มากกว่าส่วนแป้นตัวอักษรซะด้วยซ้ำไป
การพิมพ์สัมผัสกับแป้นพิมพ์เครื่องคิดเลข จึงเป็นเครื่องจำเป็น ต้องฝึกฝน ทำความคุ้นเคย
หากจะทำงานในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบัญชี
ท่านอาจใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนแป้นพิมพ์ บริเวณนี้มากกว่าส่วนแป้นตัวอักษรซะด้วยซ้ำไป
การพิมพ์สัมผัสกับแป้นพิมพ์เครื่องคิดเลข จึงเป็นเครื่องจำเป็น ต้องฝึกฝน ทำความคุ้นเคย
การทำงานของโปรแกรม
เมนูหลัก
(หมายเหตุ สำหรับ windows 7 หาก run program ได้แต่อ่าน font ไทยไม่ออก กรุณา click ตรงนี้ เพื่อไปอ่านบทความวิธีแก้ไข)
มีแบบฝึกหัดฝึกการสัมผัสของแป้นแต่ละแถว เริ่มจากแป้นเหย้า 456 enter เรื่อยไป
รวมทั้งการใช้แป้นคำนวณ + - เป็นหลัก
แต่ต้องเริ่มจากการสัมผัสแป้น 5 เป็นหลัก
เพราะบนแป้น 5 หากใช้นิ้วกลางสัมผัส ตัวผิวแป้นจะไม่เรียบเหมือนแป้นอื่น แต่มีเนินเล็ก ๆ แนวนอน
ให้ใช้ตรวจการวางนิ้วกลางที่แป้นเหย้า
จึงต้องสร้างสัมผัสให้คุ้นเคย เพื่อการวางนิ้วประจำที่ฐาน หรือแป้นเหย้าได้
แต่ละบทฝึกจะมีคำอธิบาย
เมื่อเริ่มฝึก ก็จะพิมพ์ตามตัวเลขที่ปรากฎบนหน้าจอ
ขณะพิมพ์จะมีวงกลมสีดำ วางบนแป้นที่จะกดต่อไป ช่วยนำทาง
พร้อมกับคำนวณความเร็ว (speed) หน่วยวัดเป็นคำต่อนาที (word per minute) และ
เปอร์เซนต์ความถูกต้อง (accuracy)
และเมื่อจบแบบฝึกหัด ก็จะแสดงผลสรุป
บอกแป้นที่กดผิด
ที่จะใช้ทดสอบเป็นเกณฑ์ผ่าน จะใช้ของจริงชุดที่ 1
พิมพ์ตามค่าตัวเลขที่ปรากฎ ขณะพิมพ์หากยังไม่กดแป้น enter ยังสามารถลบที่พิมพ์ไปได้
เมื่อพิมพ์จนครบ
ก็จะแสดงค่าสรุป เช่นในภาพ ความเร็วอยู่ที่ 36.8 คำต่อนาที และไม่ผิดเลย accuracy 100 เปอร์เซนต์
เกณฑ์การสอบผ่านควรอยู่ที่ ตั้งแต่ 30 WPM และ accuracy เป็น 100 เปอร์เซนต์
การพิมพ์ตัวเลขผิดเพียงค่าเดียว ก็ส่งผลเสียต่อการคำนวณ หรือ งานชิ้นนั้น ๆ แล้ว
(หมายเหตุ สำหรับ windows 7 หาก run program ได้แต่อ่าน font ไทยไม่ออก กรุณา click ตรงนี้ เพื่อไปอ่านบทความวิธีแก้ไข)
มีแบบฝึกหัดฝึกการสัมผัสของแป้นแต่ละแถว เริ่มจากแป้นเหย้า 456 enter เรื่อยไป
รวมทั้งการใช้แป้นคำนวณ + - เป็นหลัก
แต่ต้องเริ่มจากการสัมผัสแป้น 5 เป็นหลัก
เพราะบนแป้น 5 หากใช้นิ้วกลางสัมผัส ตัวผิวแป้นจะไม่เรียบเหมือนแป้นอื่น แต่มีเนินเล็ก ๆ แนวนอน
ให้ใช้ตรวจการวางนิ้วกลางที่แป้นเหย้า
จึงต้องสร้างสัมผัสให้คุ้นเคย เพื่อการวางนิ้วประจำที่ฐาน หรือแป้นเหย้าได้
แต่ละบทฝึกจะมีคำอธิบาย
เมื่อเริ่มฝึก ก็จะพิมพ์ตามตัวเลขที่ปรากฎบนหน้าจอ
ขณะพิมพ์จะมีวงกลมสีดำ วางบนแป้นที่จะกดต่อไป ช่วยนำทาง
พร้อมกับคำนวณความเร็ว (speed) หน่วยวัดเป็นคำต่อนาที (word per minute) และ
เปอร์เซนต์ความถูกต้อง (accuracy)
และเมื่อจบแบบฝึกหัด ก็จะแสดงผลสรุป
บอกแป้นที่กดผิด
ที่จะใช้ทดสอบเป็นเกณฑ์ผ่าน จะใช้ของจริงชุดที่ 1
พิมพ์ตามค่าตัวเลขที่ปรากฎ ขณะพิมพ์หากยังไม่กดแป้น enter ยังสามารถลบที่พิมพ์ไปได้
เมื่อพิมพ์จนครบ
ก็จะแสดงค่าสรุป เช่นในภาพ ความเร็วอยู่ที่ 36.8 คำต่อนาที และไม่ผิดเลย accuracy 100 เปอร์เซนต์
เกณฑ์การสอบผ่านควรอยู่ที่ ตั้งแต่ 30 WPM และ accuracy เป็น 100 เปอร์เซนต์
การพิมพ์ตัวเลขผิดเพียงค่าเดียว ก็ส่งผลเสียต่อการคำนวณ หรือ งานชิ้นนั้น ๆ แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น